การบำบัดความเครียดด้วยเสียงเพลง
Music Therapy
ความเครียดเกิดในวัย?
ในปัจจุบันผู้คนทุกรุ่นทุกวัยมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการงาน
การเรียน หรือการเงินซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดได้
อีกทั้งยังเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตามมา
ซึ่งความเครียดเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่เป็นกันมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ความเครียดนั้นหากปล่อยทิ้งไว้
จะส่งผลต่อร่างกายให้ป่วยง่ายอีกด้วย การบำบัดความเครียดมีหลายรูปแบบที่เกิดจากปัญหาที่แตกต่างกันไป
ดนตรีมีผลต่อสมองอย่างไร?
เสียงเพลงเดินทางเป็นคลื่นเสียงเข้าไปในหูของคนเรา
ซึ่งข้างในนั้นมีเซลล์ประสาทเป็นเส้นขนกว่า 5,000 เส้น ทำหน้าที่แปรสภาพพลังคลื่นเสียงกลายเป็นไฟฟ้าในกระแสประสาท
เมื่อเสียงเข้าไปในหูแล้วจะขยายต่อโดยผ่านเข้ากระดูกข้อต่อในหู แล้วมีแผ่นบางๆ รองรับที่จะส่งต่อไปยังสารเหลวที่อยู่ในส่วนลึก
นั่นคือ กระบวนการทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ นั่นเอง
ในตัวแกนของดนตรีนั้น คือคณิตศาสตร์ล้วนๆ
เป็นแรงแกว่งของลมที่ถูกคำนวณด้วยตัวเลข ซึ่งความถี่ห่างของแรงเหวี่ยงในอากาศนั้นๆ
เข้าไปทับซ้อนกัน แล้วในที่สุด กลายมาเป็นความรู้สึกทางอารมณ์ของคนเรานั่นเอง
การบำบัดความเครียดได้โดย?
ดนตรีบำบัด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ
Music
Therapy เป็นกิจกรรมทางดนตรีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การร้องเพลง
การแต่งเพลง โดยมีจุดประสงค์เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟูร่างกาย อารมณ์ รวมถึงสติของผู้เข้ารับการบำบัด
ส่วนมากดนตรีบำบัด ถูกใช้ในโรงพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงเรียน สถานเลี้ยงดู หรือแม้แต่ที่พักอาศัย
โดยส่วนมากเราจะเห็นตามโรงพยาบาลของรัฐบาล ที่มีวงดนตรีของกลุ่มอาสาสมัคร ไปร้องเพลงเพื่อให้ประชาชนที่นั่งคอย
การรักษาได้ฟัง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย และช่วยลดความเครียดจากการเจ็บป่วย หรือการรอคอย
การเข้ารับบริการ เป็นเวลานาน
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียด คือ การตอบสนองของร่างกายต่อความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
และเมื่อความเครียดเกิดขึ้น ร่างกายจะปล่อยสารเคมีที่เพิ่มพลังงานและความแข็งเกร็งแก่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด?
บางสาเหตุของความเครียดก็เป็นเรื่องสากล
เช่น ปัญหาสุขภาพของเรา หรือของครอบครัว การตายของบุคคลใกล้ชิด หรือแม้กระทั่งสภาพทางการเงิน
ล้วนก่อให้เกิดความเครียดทั้งสิ้น มากไปกว่านั้น หากไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
เมื่อเหนื่อยล้าทั้งทางใจและกาย ก็มักทำให้เกิดความเครียดตามมาอีกด้วย โดยเราจะจัดการกับความเครียดได้ก็ต่อเมื่อเรารู้ว่ามันเกิดจากอะไร
เพราะฉะนั้นการรู้สาเหตุของความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญ
อาการของความเครียด?
คุณอาจจะรู้ตัวว่าคุณกำลังเครียดอยู่
แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนบางส่วนที่แสดงความเครียดออกมาโดยไม่รู้ตัว
พฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเครียด
-
ความอยากอาหารลดลง
-
อาการนอนไม่หลับเนื่องจากการคิดมากหลายเรื่อง
-
รู้สึกกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
-
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
-
ไม่มีสมาธิกับการทำงาน
-
การกินยาหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น ความเครียดอาจมีผลทางกายภาพเช่นกัน
อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และท้องร่วง อาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความเครียดในระยะยาว
หากไม่จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น มันอาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย
จัดการความเครียดเจ้าปัญหานี้ได้ยังไงล่ะ?
1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
คุณไม่สามารถรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้
หากคุณไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คุณเครียด เพราะฉะนั้น หากมีสถานการณ์หรือเพื่อนร่วมงานทำให้คุณรู้สึกไม่พอใจแล้วละก็
คุณควรจะควบคุมอารมณ์ของคุณให้ได้ ไม่ให้อารมณ์โกรธอยู่เหนือตัวเอง
2. อย่าละเลยความเครียด
เพราะความเครียดไม่อาจหายไปเองได้
ดังนั้นเมื่อคุณรู้ว่าคุณจะต้องเผชิญกับบุคคลหรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณรู้สึกเครียด
ให้คุณยืนหยัดรับมันด้วยรอยยิ้ม เพราะเมื่อคุณเผชิญหน้ากับมันพร้อมกับความคิดบวกและความมั่นใจ
คุณจะเห็นว่าปัญหาเหล่านั้นง่ายขึ้นมากเพียงใด
3. อย่าเร่งตัวเองให้จัดการกับความเครียดต่างๆ
ในคราวเดียว
ร่างกายและจิตใจเป็นตัวกำหนดระดับความเครียด
การค้นหาว่าความเครียดเกิดจากสาเหตุใดนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในในการจัดการความเครียด
หลังจากที่ค้นพบสาเหตุแล้ว บอกกับตัวเองว่าคุณต้องกล้าเผชิญหน้า และจัดการกับสาเหตุนั้นได้แล้ว
ลองเปลี่ยนมุมมองและสนุกไปกับการท้าทาย แต่ต้องไม่ลืมโฟกัสกับการจัดการความเครียดด้วย
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้คนส่วนมากมักจะดื่มแอลกอฮอล์เพื่อระบายความเครียด แน่นอนการดื่มนั้นช่วยได้แต่ก็เพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น การดื่มเพียงเล็กน้อยกับเพื่อนฝูงหลังเลิกงานเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับการระบายความเครียด
อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนอีกด้วย แต่ในทางกลับกัน การใช้แอลกอฮอล์เพื่อระบายความเครียดนั้นอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
เนื่องจากมันอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพและอาจทำให้คุณเสพติดการดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย
5. ทานอาหารที่มีประโยชน์
เป็นที่รู้กันดีว่าอาหารชนิดไหนที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
เช่น น้ำตาลฟอกสี อาหารขยะที่มีปริมาณไขมันสูง จำพวกมันฝรั่งทอด หรือ อาหารที่ทำมาจากแป้งขัดขาว
ถึงแม้การรับประทานอาหารจำพวกนี้อาจจะทำให้คุณอิ่มหนำสำราญ แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณมักจะกลับมาหิวอีกครั้ง
ดังนั้นคุณจึงควรรับประทานผักผลไม้ในสัดส่วนที่มากกว่าอาหารชนิดอื่น แต่หากคุณไม่ชอบ
ก็พยายามหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้คุณสามารถสนุกไปกับมันได้
6. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายจะทำให้คุณรู้สึกดีต่อร่างกายของคุณ
เนื่องจากกล้ามเนื่อจะมีการบีบรัดและผ่อนคลายในขณะที่ออกกำลังกาย อีกทั้งยังทำให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอีกด้วย
เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายของคุณลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด
และทำให้สมองของคุณหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งเป็นสารสร้างความสุข ข้อแนะนำก็คือ หากคุณไม่สามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้
คุณก็อาจเดิน ยกน้ำหนัก หรือการออกกำลังกายเป็นกลุ่ม เช่น โยคะ แทนก็ได้ เลือกกีฬาสักชนิดที่คุณสามารถทำได้ทุกอาทิตย์เป็นอย่างต่ำ
การออกกำลังกายควรทำทุกวัน แต่แค่เพียง 3 ครั้งต่ออาทิตย์ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตคุณได้แล้ว
7. ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง
ใช้เวลา 15-30 นาทีในแต่ละวันอยู่กับตัวเองและไตร่ตรองถึงสิ่งต่างๆ
ในแต่ละวันนั้นคุณอาจต้องใช้เวลาไปกับผู้คนมากมาย ฉะนั้นการหาเวลาว่างให้ตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญและทำให้คุณเป็นเพื่อนที่น่าคบหา
เป็นครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานที่ดี ทั้งยังสามารถช่วยกำจัดความเครียดในแต่ละวันได้อีกด้วย
โดยคุณอาจจะใช้เวลาส่วนตัวไปกับสิ่งที่คุณชอบ เช่น การอ่านข่าวและดื่มด่ำกับกาแฟยามเช้า
หรือพักผ่อนสายตาและผ่อนคลายก็ได้ เพราะเพียงแค่การหลับตาและสูดหายใจเข้าลึกๆ ในเวลาอันสั้น
ก็สร้างสมาธิให้คุณได้แล้ว การให้เวลากับตัวเองเช่นนี้ช่วยให้คุณสามารถโฟกัสกับงานและทำหน้าที่ของคุณได้อย่างมีสติรอบคอบ
8. พักผ่อนให้เพียงพอ
การตื่นนอนด้วยความสดชื่นเป็นหนทางในการกำจัดความเครียดอีกวิธีหนึ่ง
เทคนิคที่ทำให้คุณตื่นนอนด้วยความสดใสได้แก่ เข้านอนตรงเวลา และหากิจกรรมทำก่อนนอนเช่น
ดื่มชบาสมุนไพรพร้อมอ่านหนังสือ หรืออาจสละเวลาในการดูรายการโชว์โปรด เพื่อการพักผ่อนที่เพียงพอ
เป็นต้น หากคุณมีปัญหาในการนอนหลับ ให้คุณลองวิธีการรักษาแบบธรรมชาติก่อนการใช้ยานอนหลับจากแพทย์
ทำไมต้องดนตรีบำบัด?
ความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพของเราลดลง
ทำให้เราแก่ตัวเร็วขึ้น วันนี้จะเสนอวิธีดนตรีบำบัด เพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยละความเครียด
และเป็นการชะลอความแก่ และ ดูแลสุขภาพด้วยตนเองง่ายๆ
ดนตรี เป็นสื่อภาษาสากลที่ไม่ว่าคนชาติไหนๆ
ก็เข้าใจเนื้อดนตรีเดียวกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ดนตรีจึงสามารถใช้สื่อสารได้กับคนทั้งโลก
รวมทั้งการนำมารักษาโรคได้กับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนที่ผิดปกติทางอารมณ์
ฟัง เสียงดนตรีคึกคักใจเราก็อยากเต้นตาม
แต่พอเป็นจังหวะสบายๆ เราก็เริ่มรู้สึกผ่อนคลาย อย่างกับว่าจังหวะและเสียงนั้นสั่งใจเราได้ก็ไม่ผิดนัก
ด้วย เหตุนี้เอง คนยุคใหม่เลยนำความมหัศจรรย์ของดนตรีมาใช้กับการบำบัดความเครียด
นอกเหนือจากการฟังเพลงทั่วๆ ไปแล้วรู้สึกดี ซึ่งจะว่าไปแล้ว ดนตรีไม่ได้เกิดจากจินตนาการในการจับโน่นผสมนี่ของตัวโน้ตอย่างที่เราคิด
แต่เป็นการเรียบเรียงที่เป็นแบบแผน และมีโครงสร้างที่สามารถอธิบายในแนวทางวิทยาศาสตร์ได้
ดนตรีจึงสามารถสร้างขึ้นเพื่อนำมาบำบัดมความรู้สึก และอารมณ์เราได้อย่างน่าเชื่อถือ
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีอะไรบ้าง?
1. ลดความวิตกกังวลได้ เพียง
เราฟังดนตรีจังหวะช้าๆ ผ่อนคลาย พลางหลับตาจินตนาการภาพที่เรารู้สึกดี เราก็จะลดความตึงเกร็งของร่างกายทุกส่วนลง
และยังปรับสมดุลใจเราให้เป็นปกติ
2. เพิ่มภูมิคุ้มกันได้ เพราะเมื่อร่างกายสงบ
การไหลเวียนเลือดเป็นปกติ การหายใจผ่อนคลาย และความเจ็บปวดลดลง ร่างกายก็จะตอบสนองเป็นจิตใจที่ดี
มีภูมิคุ้มกันยามเจ็บป่วย
3. เพิ่มทักษะการสื่อสาร คนที่สื่อสารติดขัด
ดนตรียังช่วยปรับคลื่นเราสมองเราให้เป็นปกติ ทำให้เราเรียบเรียงความคิดและการสื่อสารออกไปดีขึ้นได้
รวมทั้งการแสดงออกของเราด้วย
4. ทำให้เรามั่นใจขึ้น การขาดความมั่นใจในตัวเองก็เป็นปัญหาทางจิตใจอย่างหนึ่ง
แต่หากเราได้บำบัดเป็นกลุ่ม ได้ร้องเพลงร่วมกัน ได้เต้นรำไปด้วย ก็มีการพบว่าเราจะให้ความสำคัญกับตัวเรามากขึ้น
มั่นใจในการแสดงออกขึ้น
5. เยียวยาบำบัดโรค โรค ในที่นี้มีทั้งโรคทางร่างกาย
และโรคทางจิต มีการนำดนตรีมารักษาอย่างจริงๆ จังๆ แล้วมากมาย แล้วพบว่าช่วยให้คนไข้เคลื่อนไหวและควบคุมตัวเองดีขึ้น
ลดการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม แก้ปมในใจ และยังสร้างเสริมอารมณ์เชิงบวกได้เป็นอย่างดี
ข้อดีของการ
ฟังเพลง ได้มากกว่าคำว่าเพลิดเพลิน
1.ดนตรีรักษาโรค
ดนตรีบำบัด หรือ “Music
Therapy” เป็นการใช้ดนตรีควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านสังคม
จิตใจ และร่างกาย โดยมีการบำบัดทั้งด้านการฟัง เพื่อลดความวิตกกังวล และด้านการร้อง
การเต้น เพื่อฝึกการสื่อสาร เหมาะกับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ผู้มีปัญหาทางด้านสมองและอารมณ์
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า รวมไปถึงผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วยนอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังเป็นยาบรรเทาปวดชั้นดีของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด
หากผู้ป่วยฟังเพลงก่อนและหลัง หรือ ระหว่างการผ่าตัด จะส่งผลให้พวกเค้ามีความเจ็บปวดที่น้อยลง
2.คลายเครียด เพิ่มอารมณ์ดี
ดนตรีมีผลอย่างลึกซึ้งต่อร่างกายและเพิ่มพลังบวกให้จิตใจ
การฟังเพลงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเครียด ความกดดัน และความวิตกกังวล คลื่นสมองและอัตราการเต้นของหัวใจทำงานประสานกับจังหวะของเพลง
ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย การหายใจช้าลง ลดการทำงานของสมอง และลดความดันโลหิต ส่งผลให้สภาพจิตดีขึ้น
3.มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์
ดนตรีเป็นส่วนพัฒนาสมอง ทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาทำงานอย่างสมดุล
ดังนั้นสมองจะผ่อนคลาย ผู้ฟังจะปล่อยความคิดและจินตนาการไปตามเพลง ซึ่งเป็นผลดีกับสมองซีกขวา
และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายให้ตื่นตัวอีกด้วย การใช้ดนตรีเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ
ทั้งการฟัง การร้อง การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ และการเล่นดนตรี จะส่งผลให้เด็กมีแรงบันดาลใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดลื่นไหล และเป็นตัวสร้างเสริมจินตนาการของพวกเค้าได้ดี
4.เล่นดนตรีเพิ่มทักษะความจำ
คนที่มีความสามารถในการเล่นดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง
มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ยาวนานกว่าคนที่เล่นดนตรีไม่เป็นเลย
แถมพวกเค้ายังมีทักษะแยกแยะและตอบสนองต่อเสียงได้อย่างดี โดยสามารถรู้ได้เลยว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเครื่องดนตรีหรือโน้ตอะไร
พูดได้ว่าการเล่นดนตรีเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย เพราะสมองจะจัดการข้อมูลต่างๆ พร้อมๆกัน
ด้วยความประณีต และเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันด้วยความรวดเร็ว เป็นการเพิ่มปริมาณและกิจกรรมในส่วน
corpus
callosum ซึ่งเป็นตัวเชื่อมสมองซีกซ้ายและซีกขวาเข้าด้วยกัน ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่มีความจำดีและเรียกใช้ความจำได้เร็ว
สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์กว่าคนอื่นๆ
5.หลับสบายยิ่งขึ้น
อาการนอนไม่หลับหรืออาการนอนหลับไม่สนิท
ล้วนเกิดจากการทำงานของสมอง เมื่อเรายิ่งเครียดจะทำให้คลื่นสมองของเรามีความถี่สูงขึ้น
ทำให้เราอยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว ส่งผลให้สมองไม่หยุดคิดหรือนอนไม่หลับนั่นเอง เสียงดนตรีจะช่วยเปลี่ยนแปลงคลื่นสมองได้
ดังนั้นการฟังดนตรีบรรเลงเบาๆ ช้าๆ ไม่มีเสียงร้อง อย่างดนตรีคลาสสิค จะส่งผลให้การเต้นของหัวใจลดลง
ทำให้หลับเต็มอิ่มขึ้น
6.มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น
เมื่อได้ฟังเพลงจังหวะช้าๆ
เพลงคลาสสิค รวมไปถึงเสียงน้ำไหลและเสียงฝน จะทำให้จิตใจเราผ่อนคลายลง สามารถช่วยให้เราโฟกัสกับสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนเพลงที่มีจังหวะสนุกๆ ก็สามารถทำให้รามีสมาธิในการทำงานได้เหมือนกันเพราะมีนักวิจัยพบว่า
การฟังเพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์ที่มีไดนามิกขึ้นลงสลับไปมาทำให้เราทำงานท่ามกลางแรงกดดันได้เป็นอย่างดี
7.อกหัก รักคุด มาฟังเพลงกันเถอะ
มีนักวิจัยค้นพบว่า ผู้ที่พบเจอเรื่องผิดหวัง
เสียใจ ท้อแท้ในชีวิต รวมถึงคนที่อกหัก ควรฟังเพลงแนวเมทัล เนื่องจากเป็นเพลงที่มีดนตรีค่อนข้างหนัก
สามารถทำให้ผู้ฟังรู้สึกกระฉับกระเฉง และได้ปลดปล่อยความรู้สึกด้านลบอย่างเต็มที่
การฝึกใช้ดนตรีให้เป็นประโยชน์ทำอย่างไร?
วิธีการบำบัดความเครียดด้วยดนตรี
1. เลือกดนตรีที่เรารู้สึกดี
ฟังสบาย อาจเป็นทำนองหรือมีเนื้อร้องก็ได้ แต่เหมาะกับอารมณ์ในเวลานั้น เช่น ดนตรีบำบัดเครียด
หรือดนตรีเพิ่มความตื่นตัว เป็นต้น
2. เอนหลังไปกับที่นอนหรือเก้าอี้นุ่มๆ
ปรับอุณหภูมิหรือห่มผ้าให้อุ่นสบาย
3. เปิดดนตรีฟังสัก 10 –
15 ที หลับตาจินตนาการถึงความรู้สึกดีๆ หรือภาพที่เราประทับใจน้ำ
4. อาจเพิ่มการจุดเทียนหอม
หรือเหยาะน้ำมันหอมระเหยเพื่อปรับบรรยากาศห้องเพิ่มก็ได้
ลักษณะของดนตรีบำบัดควรเป็นแบบไหน?
1.ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง
มีเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก เป็นต้น
2.มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอประมาณ
70-80 ครั้ง/นาที และมีทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ระดับเสียงปานกลาง-ต่ำ
3.ความเข้มของเสียงไม่ดังมาก
ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ฟัง เนื่องจากความดังสามารถกระตุ้นให้มีความเจ็บปวดของผู้ป่วยให้เพิ่มมากขึ้นได้
4.ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้
อาทิ พิณ เปียโน กีตาร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า ป๊อป คลาสสิค เป็นต้น
5.ดนตรีที่ผู้ฟังมีความคุ้นเคย
และความชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น