วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2562
วันพฤหัสบดีที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561
วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2561
ใบงานที่5 บทความสำหรับโครงงาน
การบำบัดความเครียดด้วยเสียงเพลง
Music Therapy
ความเครียดเกิดในวัย?
ในปัจจุบันผู้คนทุกรุ่นทุกวัยมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการงาน
การเรียน หรือการเงินซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเครียดได้
อีกทั้งยังเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพตามมา
ซึ่งความเครียดเป็นอาการที่คนส่วนใหญ่เป็นกันมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว ความเครียดนั้นหากปล่อยทิ้งไว้
จะส่งผลต่อร่างกายให้ป่วยง่ายอีกด้วย การบำบัดความเครียดมีหลายรูปแบบที่เกิดจากปัญหาที่แตกต่างกันไป
ดนตรีมีผลต่อสมองอย่างไร?
เสียงเพลงเดินทางเป็นคลื่นเสียงเข้าไปในหูของคนเรา
ซึ่งข้างในนั้นมีเซลล์ประสาทเป็นเส้นขนกว่า 5,000 เส้น ทำหน้าที่แปรสภาพพลังคลื่นเสียงกลายเป็นไฟฟ้าในกระแสประสาท
เมื่อเสียงเข้าไปในหูแล้วจะขยายต่อโดยผ่านเข้ากระดูกข้อต่อในหู แล้วมีแผ่นบางๆ รองรับที่จะส่งต่อไปยังสารเหลวที่อยู่ในส่วนลึก
นั่นคือ กระบวนการทำให้เกิดอารมณ์ ความรู้สึกต่างๆ นั่นเอง
ในตัวแกนของดนตรีนั้น คือคณิตศาสตร์ล้วนๆ
เป็นแรงแกว่งของลมที่ถูกคำนวณด้วยตัวเลข ซึ่งความถี่ห่างของแรงเหวี่ยงในอากาศนั้นๆ
เข้าไปทับซ้อนกัน แล้วในที่สุด กลายมาเป็นความรู้สึกทางอารมณ์ของคนเรานั่นเอง
การบำบัดความเครียดได้โดย?
ดนตรีบำบัด หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ
Music
Therapy เป็นกิจกรรมทางดนตรีที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการฟัง การร้องเพลง
การแต่งเพลง โดยมีจุดประสงค์เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟูร่างกาย อารมณ์ รวมถึงสติของผู้เข้ารับการบำบัด
ส่วนมากดนตรีบำบัด ถูกใช้ในโรงพยาบาล ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ โรงเรียน สถานเลี้ยงดู หรือแม้แต่ที่พักอาศัย
โดยส่วนมากเราจะเห็นตามโรงพยาบาลของรัฐบาล ที่มีวงดนตรีของกลุ่มอาสาสมัคร ไปร้องเพลงเพื่อให้ประชาชนที่นั่งคอย
การรักษาได้ฟัง เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่วย และช่วยลดความเครียดจากการเจ็บป่วย หรือการรอคอย
การเข้ารับบริการ เป็นเวลานาน
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียด คือ การตอบสนองของร่างกายต่อความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
และเมื่อความเครียดเกิดขึ้น ร่างกายจะปล่อยสารเคมีที่เพิ่มพลังงานและความแข็งเกร็งแก่กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ
ของร่างกาย
สาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด?
บางสาเหตุของความเครียดก็เป็นเรื่องสากล
เช่น ปัญหาสุขภาพของเรา หรือของครอบครัว การตายของบุคคลใกล้ชิด หรือแม้กระทั่งสภาพทางการเงิน
ล้วนก่อให้เกิดความเครียดทั้งสิ้น มากไปกว่านั้น หากไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอ
เมื่อเหนื่อยล้าทั้งทางใจและกาย ก็มักทำให้เกิดความเครียดตามมาอีกด้วย โดยเราจะจัดการกับความเครียดได้ก็ต่อเมื่อเรารู้ว่ามันเกิดจากอะไร
เพราะฉะนั้นการรู้สาเหตุของความเครียดจึงเป็นสิ่งสำคัญ
อาการของความเครียด?
คุณอาจจะรู้ตัวว่าคุณกำลังเครียดอยู่
แต่ในขณะเดียวกันก็มีคนบางส่วนที่แสดงความเครียดออกมาโดยไม่รู้ตัว
พฤติกรรมดังต่อไปนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเครียด
-
ความอยากอาหารลดลง
-
อาการนอนไม่หลับเนื่องจากการคิดมากหลายเรื่อง
-
รู้สึกกังวลกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
-
อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
-
ไม่มีสมาธิกับการทำงาน
-
การกินยาหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น
นอกจากนั้น ความเครียดอาจมีผลทางกายภาพเช่นกัน
อาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ และท้องร่วง อาการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับความเครียดในระยะยาว
หากไม่จัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น มันอาจนำไปสู่ภาวะความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองได้อีกด้วย
จัดการความเครียดเจ้าปัญหานี้ได้ยังไงล่ะ?
1. หาสาเหตุที่ทำให้เกิดความเครียด
คุณไม่สามารถรับมือกับความเครียดที่เกิดขึ้นได้
หากคุณไม่รู้ว่าสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้คุณเครียด เพราะฉะนั้น หากมีสถานการณ์หรือเพื่อนร่วมงานทำให้คุณรู้สึกไม่พอใจแล้วละก็
คุณควรจะควบคุมอารมณ์ของคุณให้ได้ ไม่ให้อารมณ์โกรธอยู่เหนือตัวเอง
2. อย่าละเลยความเครียด
เพราะความเครียดไม่อาจหายไปเองได้
ดังนั้นเมื่อคุณรู้ว่าคุณจะต้องเผชิญกับบุคคลหรือสถานการณ์ที่ทำให้คุณรู้สึกเครียด
ให้คุณยืนหยัดรับมันด้วยรอยยิ้ม เพราะเมื่อคุณเผชิญหน้ากับมันพร้อมกับความคิดบวกและความมั่นใจ
คุณจะเห็นว่าปัญหาเหล่านั้นง่ายขึ้นมากเพียงใด
3. อย่าเร่งตัวเองให้จัดการกับความเครียดต่างๆ
ในคราวเดียว
ร่างกายและจิตใจเป็นตัวกำหนดระดับความเครียด
การค้นหาว่าความเครียดเกิดจากสาเหตุใดนั้น เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดในในการจัดการความเครียด
หลังจากที่ค้นพบสาเหตุแล้ว บอกกับตัวเองว่าคุณต้องกล้าเผชิญหน้า และจัดการกับสาเหตุนั้นได้แล้ว
ลองเปลี่ยนมุมมองและสนุกไปกับการท้าทาย แต่ต้องไม่ลืมโฟกัสกับการจัดการความเครียดด้วย
4. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ผู้คนส่วนมากมักจะดื่มแอลกอฮอล์เพื่อระบายความเครียด แน่นอนการดื่มนั้นช่วยได้แต่ก็เพียงแค่ในระยะสั้นเท่านั้น การดื่มเพียงเล็กน้อยกับเพื่อนฝูงหลังเลิกงานเป็นกิจกรรมที่ดีสำหรับการระบายความเครียด
อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนอีกด้วย แต่ในทางกลับกัน การใช้แอลกอฮอล์เพื่อระบายความเครียดนั้นอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนัก
เนื่องจากมันอาจทำให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพและอาจทำให้คุณเสพติดการดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย
5. ทานอาหารที่มีประโยชน์
เป็นที่รู้กันดีว่าอาหารชนิดไหนที่ไม่ดีต่อสุขภาพ
เช่น น้ำตาลฟอกสี อาหารขยะที่มีปริมาณไขมันสูง จำพวกมันฝรั่งทอด หรือ อาหารที่ทำมาจากแป้งขัดขาว
ถึงแม้การรับประทานอาหารจำพวกนี้อาจจะทำให้คุณอิ่มหนำสำราญ แต่หลังจากนั้นไม่นาน คุณมักจะกลับมาหิวอีกครั้ง
ดังนั้นคุณจึงควรรับประทานผักผลไม้ในสัดส่วนที่มากกว่าอาหารชนิดอื่น แต่หากคุณไม่ชอบ
ก็พยายามหาวิธีการต่างๆ ที่จะทำให้คุณสามารถสนุกไปกับมันได้
6. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายจะทำให้คุณรู้สึกดีต่อร่างกายของคุณ
เนื่องจากกล้ามเนื่อจะมีการบีบรัดและผ่อนคลายในขณะที่ออกกำลังกาย อีกทั้งยังทำให้คุณมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอีกด้วย
เพราะการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายของคุณลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดความเครียด
และทำให้สมองของคุณหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินซึ่งเป็นสารสร้างความสุข ข้อแนะนำก็คือ หากคุณไม่สามารถออกกำลังกายด้วยการวิ่งได้
คุณก็อาจเดิน ยกน้ำหนัก หรือการออกกำลังกายเป็นกลุ่ม เช่น โยคะ แทนก็ได้ เลือกกีฬาสักชนิดที่คุณสามารถทำได้ทุกอาทิตย์เป็นอย่างต่ำ
การออกกำลังกายควรทำทุกวัน แต่แค่เพียง 3 ครั้งต่ออาทิตย์ก็สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงในชีวิตคุณได้แล้ว
7. ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง
ใช้เวลา 15-30 นาทีในแต่ละวันอยู่กับตัวเองและไตร่ตรองถึงสิ่งต่างๆ
ในแต่ละวันนั้นคุณอาจต้องใช้เวลาไปกับผู้คนมากมาย ฉะนั้นการหาเวลาว่างให้ตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญและทำให้คุณเป็นเพื่อนที่น่าคบหา
เป็นครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงานที่ดี ทั้งยังสามารถช่วยกำจัดความเครียดในแต่ละวันได้อีกด้วย
โดยคุณอาจจะใช้เวลาส่วนตัวไปกับสิ่งที่คุณชอบ เช่น การอ่านข่าวและดื่มด่ำกับกาแฟยามเช้า
หรือพักผ่อนสายตาและผ่อนคลายก็ได้ เพราะเพียงแค่การหลับตาและสูดหายใจเข้าลึกๆ ในเวลาอันสั้น
ก็สร้างสมาธิให้คุณได้แล้ว การให้เวลากับตัวเองเช่นนี้ช่วยให้คุณสามารถโฟกัสกับงานและทำหน้าที่ของคุณได้อย่างมีสติรอบคอบ
8. พักผ่อนให้เพียงพอ
การตื่นนอนด้วยความสดชื่นเป็นหนทางในการกำจัดความเครียดอีกวิธีหนึ่ง
เทคนิคที่ทำให้คุณตื่นนอนด้วยความสดใสได้แก่ เข้านอนตรงเวลา และหากิจกรรมทำก่อนนอนเช่น
ดื่มชบาสมุนไพรพร้อมอ่านหนังสือ หรืออาจสละเวลาในการดูรายการโชว์โปรด เพื่อการพักผ่อนที่เพียงพอ
เป็นต้น หากคุณมีปัญหาในการนอนหลับ ให้คุณลองวิธีการรักษาแบบธรรมชาติก่อนการใช้ยานอนหลับจากแพทย์
ทำไมต้องดนตรีบำบัด?
ความเครียดเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สุขภาพของเราลดลง
ทำให้เราแก่ตัวเร็วขึ้น วันนี้จะเสนอวิธีดนตรีบำบัด เพื่อเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยละความเครียด
และเป็นการชะลอความแก่ และ ดูแลสุขภาพด้วยตนเองง่ายๆ
ดนตรี เป็นสื่อภาษาสากลที่ไม่ว่าคนชาติไหนๆ
ก็เข้าใจเนื้อดนตรีเดียวกัน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้ ดนตรีจึงสามารถใช้สื่อสารได้กับคนทั้งโลก
รวมทั้งการนำมารักษาโรคได้กับทุกๆ คน ไม่ว่าจะเป็นเด็ก ผู้ใหญ่ หรือคนที่ผิดปกติทางอารมณ์
ฟัง เสียงดนตรีคึกคักใจเราก็อยากเต้นตาม
แต่พอเป็นจังหวะสบายๆ เราก็เริ่มรู้สึกผ่อนคลาย อย่างกับว่าจังหวะและเสียงนั้นสั่งใจเราได้ก็ไม่ผิดนัก
ด้วย เหตุนี้เอง คนยุคใหม่เลยนำความมหัศจรรย์ของดนตรีมาใช้กับการบำบัดความเครียด
นอกเหนือจากการฟังเพลงทั่วๆ ไปแล้วรู้สึกดี ซึ่งจะว่าไปแล้ว ดนตรีไม่ได้เกิดจากจินตนาการในการจับโน่นผสมนี่ของตัวโน้ตอย่างที่เราคิด
แต่เป็นการเรียบเรียงที่เป็นแบบแผน และมีโครงสร้างที่สามารถอธิบายในแนวทางวิทยาศาสตร์ได้
ดนตรีจึงสามารถสร้างขึ้นเพื่อนำมาบำบัดมความรู้สึก และอารมณ์เราได้อย่างน่าเชื่อถือ
ประโยชน์ของดนตรีบำบัดมีอะไรบ้าง?
1. ลดความวิตกกังวลได้ เพียง
เราฟังดนตรีจังหวะช้าๆ ผ่อนคลาย พลางหลับตาจินตนาการภาพที่เรารู้สึกดี เราก็จะลดความตึงเกร็งของร่างกายทุกส่วนลง
และยังปรับสมดุลใจเราให้เป็นปกติ
2. เพิ่มภูมิคุ้มกันได้ เพราะเมื่อร่างกายสงบ
การไหลเวียนเลือดเป็นปกติ การหายใจผ่อนคลาย และความเจ็บปวดลดลง ร่างกายก็จะตอบสนองเป็นจิตใจที่ดี
มีภูมิคุ้มกันยามเจ็บป่วย
3. เพิ่มทักษะการสื่อสาร คนที่สื่อสารติดขัด
ดนตรียังช่วยปรับคลื่นเราสมองเราให้เป็นปกติ ทำให้เราเรียบเรียงความคิดและการสื่อสารออกไปดีขึ้นได้
รวมทั้งการแสดงออกของเราด้วย
4. ทำให้เรามั่นใจขึ้น การขาดความมั่นใจในตัวเองก็เป็นปัญหาทางจิตใจอย่างหนึ่ง
แต่หากเราได้บำบัดเป็นกลุ่ม ได้ร้องเพลงร่วมกัน ได้เต้นรำไปด้วย ก็มีการพบว่าเราจะให้ความสำคัญกับตัวเรามากขึ้น
มั่นใจในการแสดงออกขึ้น
5. เยียวยาบำบัดโรค โรค ในที่นี้มีทั้งโรคทางร่างกาย
และโรคทางจิต มีการนำดนตรีมารักษาอย่างจริงๆ จังๆ แล้วมากมาย แล้วพบว่าช่วยให้คนไข้เคลื่อนไหวและควบคุมตัวเองดีขึ้น
ลดการแสดงออกที่ไม่เหมาะสม แก้ปมในใจ และยังสร้างเสริมอารมณ์เชิงบวกได้เป็นอย่างดี
ข้อดีของการ
ฟังเพลง ได้มากกว่าคำว่าเพลิดเพลิน
1.ดนตรีรักษาโรค
ดนตรีบำบัด หรือ “Music
Therapy” เป็นการใช้ดนตรีควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์ เพื่อพัฒนาทักษะทางด้านสังคม
จิตใจ และร่างกาย โดยมีการบำบัดทั้งด้านการฟัง เพื่อลดความวิตกกังวล และด้านการร้อง
การเต้น เพื่อฝึกการสื่อสาร เหมาะกับเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า ผู้มีปัญหาทางด้านสมองและอารมณ์
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า รวมไปถึงผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วยนอกจากนี้ดนตรีบำบัดยังเป็นยาบรรเทาปวดชั้นดีของผู้ที่เข้ารับการผ่าตัด
หากผู้ป่วยฟังเพลงก่อนและหลัง หรือ ระหว่างการผ่าตัด จะส่งผลให้พวกเค้ามีความเจ็บปวดที่น้อยลง
2.คลายเครียด เพิ่มอารมณ์ดี
ดนตรีมีผลอย่างลึกซึ้งต่อร่างกายและเพิ่มพลังบวกให้จิตใจ
การฟังเพลงเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดความเครียด ความกดดัน และความวิตกกังวล คลื่นสมองและอัตราการเต้นของหัวใจทำงานประสานกับจังหวะของเพลง
ทำให้ร่างกายผ่อนคลาย การหายใจช้าลง ลดการทำงานของสมอง และลดความดันโลหิต ส่งผลให้สภาพจิตดีขึ้น
3.มีแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์
ดนตรีเป็นส่วนพัฒนาสมอง ทำให้สมองซีกซ้ายและซีกขวาทำงานอย่างสมดุล
ดังนั้นสมองจะผ่อนคลาย ผู้ฟังจะปล่อยความคิดและจินตนาการไปตามเพลง ซึ่งเป็นผลดีกับสมองซีกขวา
และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองซีกซ้ายให้ตื่นตัวอีกด้วย การใช้ดนตรีเป็นสื่อการเรียนรู้ให้กับเด็กๆ
ทั้งการฟัง การร้อง การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ และการเล่นดนตรี จะส่งผลให้เด็กมีแรงบันดาลใจที่จะริเริ่มสร้างสรรค์
ความคิดลื่นไหล และเป็นตัวสร้างเสริมจินตนาการของพวกเค้าได้ดี
4.เล่นดนตรีเพิ่มทักษะความจำ
คนที่มีความสามารถในการเล่นดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่ง
มีแนวโน้มที่จะมีประสิทธิภาพการทำงานของสมองได้ยาวนานกว่าคนที่เล่นดนตรีไม่เป็นเลย
แถมพวกเค้ายังมีทักษะแยกแยะและตอบสนองต่อเสียงได้อย่างดี โดยสามารถรู้ได้เลยว่าเสียงที่ได้ยินเป็นเครื่องดนตรีหรือโน้ตอะไร
พูดได้ว่าการเล่นดนตรีเทียบเท่ากับการออกกำลังกาย เพราะสมองจะจัดการข้อมูลต่างๆ พร้อมๆกัน
ด้วยความประณีต และเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกันด้วยความรวดเร็ว เป็นการเพิ่มปริมาณและกิจกรรมในส่วน
corpus
callosum ซึ่งเป็นตัวเชื่อมสมองซีกซ้ายและซีกขวาเข้าด้วยกัน ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่มีความจำดีและเรียกใช้ความจำได้เร็ว
สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์กว่าคนอื่นๆ
5.หลับสบายยิ่งขึ้น
อาการนอนไม่หลับหรืออาการนอนหลับไม่สนิท
ล้วนเกิดจากการทำงานของสมอง เมื่อเรายิ่งเครียดจะทำให้คลื่นสมองของเรามีความถี่สูงขึ้น
ทำให้เราอยู่ในภาวะที่รู้สึกตัว ส่งผลให้สมองไม่หยุดคิดหรือนอนไม่หลับนั่นเอง เสียงดนตรีจะช่วยเปลี่ยนแปลงคลื่นสมองได้
ดังนั้นการฟังดนตรีบรรเลงเบาๆ ช้าๆ ไม่มีเสียงร้อง อย่างดนตรีคลาสสิค จะส่งผลให้การเต้นของหัวใจลดลง
ทำให้หลับเต็มอิ่มขึ้น
6.มีสมาธิในการทำงานมากขึ้น
เมื่อได้ฟังเพลงจังหวะช้าๆ
เพลงคลาสสิค รวมไปถึงเสียงน้ำไหลและเสียงฝน จะทำให้จิตใจเราผ่อนคลายลง สามารถช่วยให้เราโฟกัสกับสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น
ส่วนเพลงที่มีจังหวะสนุกๆ ก็สามารถทำให้รามีสมาธิในการทำงานได้เหมือนกันเพราะมีนักวิจัยพบว่า
การฟังเพลงแนวอิเล็กทรอนิกส์ที่มีไดนามิกขึ้นลงสลับไปมาทำให้เราทำงานท่ามกลางแรงกดดันได้เป็นอย่างดี
7.อกหัก รักคุด มาฟังเพลงกันเถอะ
มีนักวิจัยค้นพบว่า ผู้ที่พบเจอเรื่องผิดหวัง
เสียใจ ท้อแท้ในชีวิต รวมถึงคนที่อกหัก ควรฟังเพลงแนวเมทัล เนื่องจากเป็นเพลงที่มีดนตรีค่อนข้างหนัก
สามารถทำให้ผู้ฟังรู้สึกกระฉับกระเฉง และได้ปลดปล่อยความรู้สึกด้านลบอย่างเต็มที่
การฝึกใช้ดนตรีให้เป็นประโยชน์ทำอย่างไร?
วิธีการบำบัดความเครียดด้วยดนตรี
1. เลือกดนตรีที่เรารู้สึกดี
ฟังสบาย อาจเป็นทำนองหรือมีเนื้อร้องก็ได้ แต่เหมาะกับอารมณ์ในเวลานั้น เช่น ดนตรีบำบัดเครียด
หรือดนตรีเพิ่มความตื่นตัว เป็นต้น
2. เอนหลังไปกับที่นอนหรือเก้าอี้นุ่มๆ
ปรับอุณหภูมิหรือห่มผ้าให้อุ่นสบาย
3. เปิดดนตรีฟังสัก 10 –
15 ที หลับตาจินตนาการถึงความรู้สึกดีๆ หรือภาพที่เราประทับใจน้ำ
4. อาจเพิ่มการจุดเทียนหอม
หรือเหยาะน้ำมันหอมระเหยเพื่อปรับบรรยากาศห้องเพิ่มก็ได้
ลักษณะของดนตรีบำบัดควรเป็นแบบไหน?
1.ควรเป็นเพลงบรรเลง ไม่ควรมีเนื้อร้อง
มีเสียงตามธรรมชาติ เช่น เสียงนก น้ำตก เป็นต้น
2.มีจังหวะที่ช้า มั่นคง สม่ำเสมอประมาณ
70-80 ครั้ง/นาที และมีทำนองราบเรียบ นุ่มนวล ระดับเสียงปานกลาง-ต่ำ
3.ความเข้มของเสียงไม่ดังมาก
ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของผู้ฟัง เนื่องจากความดังสามารถกระตุ้นให้มีความเจ็บปวดของผู้ป่วยให้เพิ่มมากขึ้นได้
4.ประเภทของดนตรีที่นิยมใช้
อาทิ พิณ เปียโน กีตาร์ วงออร์เคสตร้า แจ๊สแบบช้า ป๊อป คลาสสิค เป็นต้น
5.ดนตรีที่ผู้ฟังมีความคุ้นเคย
และความชอบ
วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ใบงานที่4 ความรู้เรื่อง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)
ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุดได้มีการประกาศใช้เมื่อเดือนพฤษภาคม
พ.ศ.2560 ซึ่งเป็น พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
คืออะไร
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ก็คือพระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ค่ะ
ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน
รวมถึงระบบต่างๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพ.ร.บ.ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน
ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์นี้
ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่พ.ร.บ.กำหนดไว้ค่ะ
ปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ รวมถึงสมาร์ตโฟนเป็นจำนวนมาก
บางคนก็อาจจะใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ แต่บางคนก็อาจใช้สิ่งนี้ทำร้ายคนอื่นในทางอ้อมด้วยก็ได้
เราอาจจะได้ยินข่าวเรื่องการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์อยู่บ้าง
ซึ่งบางเหตุการณ์ก็สร้างความเสียหายไม่น้อยเลย เพื่อจัดการกับเรื่องพวกนี้ เลยต้องมีพ.ร.บ.ออกมาควบคุม
ในเมื่อการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเรื่องใกล้ตัวเรา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็เป็นเรื่องใกล้ตัวเราเช่นกันค่ะ
หากเราไม่รู้เอาไว้ เราอาจจะเผลอไปทำผิด โดยที่เราไม่ได้ตั้งใจก็ได้
8 เรื่องที่ห้ามทำ ผิดกฎหมาย พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
เรามาดูกันต่อกันค่ะว่า แล้วข้อห้ามสำคัญ ที่ชาวเน็ต หรือคนทำงานออนไลน์อย่างพวกเราไม่ควรทำจะมีอะไรบ้าง
1. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต
(ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น
เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.
คอมพิวเตอร์ค่ะ
บทลงโทษ
เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย:
จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
2. แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง
เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง
ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิดค่ะ
บทลงโทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำต่อระบบหรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามมาตร 12 หรือเข้าถึงระบบ
ข้อมูลด้านความมั่นคงโดยมิชอบ จะต้องได้รับโทษจำคุก 3-15 ปี และปรับ 6 หมื่น – 3 แสนบาท
และถ้าเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อบุคคลอื่น ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี และปรับ
2 แสนบาท และถ้าเป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย ต้องจำคุก 5-20 ปี และปรับ 1-2 แสนบาท*
3. ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น
หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ
หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ
และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเองค่ะ
บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน
ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
*การทำการตลาดออนไลน์ที่ดี ควรนึกถึงจิตใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญค่ะ
หากอยากส่งอีเมล ก็ควรที่จะถามความยินยอมจากลูกค้าก่อนว่าเขาต้องการรับข่าวสารจากเราไหม
หรือไม่ก็หันมาทำคอนเทนต์ดีๆ อย่าง Inbound
Marketing ที่สามารถดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาหาคุณได้ด้วยความเต็มใจค่ะ*
4. เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ
(มาตรา 12)
โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ
หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ
หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ
กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1
แสน – 4 แสนบาท
5. จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด
(มาตรา 13)
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา
5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา
12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด
ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
6. นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
(มาตรา 14)
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ในความผิดมาตรา 14 จะระบุโทษการนำข้อมูลที่เปิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ข้อความผิดด้วยกันคือ
โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า
และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย
โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย
โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้
เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิดค่ะ
)
บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน
5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง
ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
7. ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด
(มาตรา 15)
กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น
แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ
และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด
บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร
14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า
ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
*ผู้ให้บริการมีหน้าที่เก็บข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน ในกรณีที่จำเป็น
ศาลอาจสั่งให้เก็บข้อมูลเพิ่มได้ไม่เกิน 2 ปี*
8. ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา
16)
ความผิดข้อนี้ แบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลักคือ
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง
ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ
และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ค่ะ
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส
หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
บทลงโทษ
หากทำผิดตามนี้ ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน
2 แสนบาท
สรุป
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือฉบับที่ 2 ปัจจุบันมีผลบังคับใช้แล้ว
ถ้าเราเป็นคนหนึ่งที่คลุกคลีกับการใช้งานคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต ก็ควรจะรู้เกี่ยวกับพ.ร.บ.นี้ไว้ค่ะ
เพราะเราจะได้ไม่เผลอไปทำความผิด อย่างน้อยๆ ต้องระวัง 8 ประเด็นที่เราได้เขียนเอาไว้เลยค่ะ
อีกทั้งการมีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ขึ้นมา ก็ถือว่าเป็นการควบคุมการใช้งานคอมพิวเตอร์ในระดับหนึ่ง
และในทางหนึ่งก็ช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้งานด้วย
Cr.https://contentshifu.com/computer-law/
กรณีศึกษา
ศาลฎีกาพิพากษายืน ผอ.ประชาไท ผิด
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีปิดความเห็นในเว็บบอร์ดช้า
เนื้อหาข่าว
23 ธ.ค. 2558 ที่ห้องพิจารณาคดี 908 ศาลอาญา รัชดา
ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์ ในคดีที่ จีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไทเป็นจำเลยในความผิดตามมาตรา
15 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ให้จำคุก 8 เดือน ปรับ
20,000 บาท โทษจำคุกรอลงอาญา จากกรณีที่ปล่อยให้มีการโพสต์ผิดกฎหมายในเว็บบอร์ดประชาไทนาน
20 วัน
ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบุกค้นสำนักงานประชาไทและควบคุมตัวจำเลย
มีการแจ้งข้อกล่าวหาและระบุการกระทำผิดในการลบความเห็นในเว็บบอร์ดประชาไทช้า รวมแล้วถึง
10 ข้อความหรือ 10 กรรม อย่างไรก็ตาม จำเลยได้รับการประกันตัวมาตั้งแต่ชั้นสอบสวน ต่อมา
ศาลชั้นต้นพิพากษาเมื่อ 30 พ.ค. 2555 ให้จำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาท แต่ทางนำสืบของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีการะบุว่า
การพิจารณาว่าจำเลยจงใจหรือไม่นั้นเป็นไปได้ยากจึงพิจารณาจากประจักษ์พยานแวดล้อมเพื่อเป็นเครื่องชี้เจตนา
โดยศาลชี้ว่าจำเลยไม่ได้ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการส่งข้อมูล IP address ของผู้ใช้บริการเว็บบอร์ดที่โพสต์ข้อความเข้าข่ายหมิ่นสถาบันให้โดยไม่ต้องร้องขอ
โดยมีทั้งกรณีที่จำเลยได้รับหมายเรียกพยานแล้ว แต่ไม่เตรียมข้อมูลจราจรไปให้ จนต้องขอความร่วมมือและมีการนำมาให้ในภายหลัง
และกรณีที่ไม่ส่งข้อมูลให้จนเลยระยะเวลา 90 วันตามกฎหมายที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต
(ISP) ต้องเก็บ IP
address ไว้ ทำให้พนักงานสอบสวนไม่สามารถดำเนินคดีกับผู้ใช้รายอื่นได้
วิเคราะห์ข่าว
ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท หรือ ซึ่งก็คือผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท
โดยได้มีการปล่อยให้มีคนมาโพสต์ข้อความที่ผิดกฎหมายในเว็บบอร์ดประชาไท ซึ่งได้ทำการปล่อยปะละเลยให้มีข้อความที่ผิดกฎหมายอยู่บนเว็บบอร์ดกว่า
20 วัน
พฤติกรรมการกระทำผิด
โพสต์ข้อความเข้าข่ายหมิ่นสถาบัน ความสำคัญของสถาบันกษัตริย์ในบริบทสังคมไทย
วิธีการป้องกัน
ควรให้ความสำคัญกับสถาบันกษัตริย์ เเละมิควรมีการเเสดงความคิดเห็น
บทลงโทษ
มาตรา 15 ให้บริการผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา
14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา
14
มาตรา 18 ภายใต้บังคับมาตรา 19 เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน
ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจอย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้ เฉพาะที่จำเป็นเพื่อประโยชน์ในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผู้กระทำความผิด
(1) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้มาเพื่อให้ถ้อยคำ
ส่งคำชี้แจงเป็นหนังสือ หรือส่งเอกสาร ข้อมูล หรือหลักฐานอื่นใดที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้
(2) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอร์หรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
(3) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการที่ต้องเก็บตามมาตรา
26 หรือที่อยู่ในความครอบครองหรือควบคุมของผู้ให้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(4) ทำสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ จากระบบคอมพิวเตอร์ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์นั้นยังมิได้อยู่ในความครอบครองของพนักงานเจ้าหน้าที่
(5) สั่งให้บุคคลซึ่งครอบครองหรือควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์
ส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
(6) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หรืออุปกรณ์ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิด
หรือเพื่อสืบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดและสั่งให้บุคคลนั้นส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
ที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นให้ด้วยก็ได้
(7) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือสั่งให้บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการเข้ารหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์
ทำการถอดรหัสลับ หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
(8) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์เท่าที่จำเป็นเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา 26 ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้ไม่น้อยกว่า
เก้าสิบวันนับแต่วันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แต่ในกรณีจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่ง
ให้ผู้ให้บริการผู้ใดเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ไว้เกินเก้าสิบวันแต่ไม่เกินหนึ่งปีเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายและเฉพาะคราวก็ได้ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลของผู้ใช้บริการเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการและต้องเก็บรักษาไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับตั้งแต่การใช้บริการสิ้นสุดลง ความในวรรคหนึ่งจะใช้กับผู้ให้บริการประเภทใด อย่างไร
และเมื่อใด ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรานี้
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท
วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ใบงานที่3 ความรู้เรื่อง Blog
วิธีการสร้าง Blog
Blog คืออะไร?
- บล็อก
(Blog) คือเว็บไซด์รูปแบบหนึ่ง ที่มีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายๆกับการเขียนไดอารี่
หรือบันทึกส่วนตัว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน เนื่องจากเราใช้ฟรี ไม่ต้องเสียเงิน
- คำว่า
"Blog" มาจากคำเต็มว่า "Weblog" (ตัด We ทิ้ง คงเหลือแต่ blog) ซึ่งโดยนัยแล้วหมายถึง
การบันทึกข้อมูล(Log) บน เว็บ(Web)
นั่นเอง
- โดยผู้ที่เขียนบล๊อกเป็นอาชีพ จะถูกเรียกกันว่า
"บล็อกเกอร์" (Blogger)
- จุดเด่นที่สำคัญของ
Blog คือ จะมีระบบที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนกันได้
โดยผ่านทางระบบ Comment ของบล๊อก
Blog ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
- ทำBlog
เป็นเว็บไซด์ส่วนตัว เพื่อแชร์ข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นๆ
เช่น บันทึกไดอารี่
- เขียนBlog
เพื่อบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ นำเสนอสิ่งที่ตนเองรู้
หรือสิ่งที่ตนเองสนใจ เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อื่น
- สร้างBlog
ทำเป็นเว็บไซด์เพื่อใช้ในการโปรโมทธุรกิจ
ร้านค้า บริการต่างๆ
- ใช้Blog
ในการทำธุรกิจขายสินค้าออนไลน์ (E-Commerce)
- นอกจากนี้ Blog
ยังเป็นช่องทางหนึ่งที่นิยมใช้กับเพื่อหารายได้จาก
Internet Marketing
Blog กับ Website
ต่างกันอย่างไร?
- เว็บไซด์ทั่วๆไปนั้น จำเป็นต้องมี Server, มี Host มี Domain
Name เป็นของตนเอง ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่าย
แต่ในส่วนของ Blog นั้นเราสามารถสมัครใช้บริการได้แบบฟรี เพียงแต่เราต้องใช้ชื่อ
Domain ของผู้ให้บริการนั้นๆ เช่นของ Google คือ Blogger.com - โดเมนเนม ก็จะเป็น "ชื่อBlogของคุณ" ต่อท้ายด้วย
"blogspot.com" เช่น JoJho-Problog.blogspot.com
- เว็บไซด์ทั่วไปจะมีความยืดหยุ่นสูงในการออกแบบ ดีไซน์
เพราะเราต้องสร้างเองทั้งหมด (ดังนั้นจะเลือกดีไซน์ยังไงก็ได้)
- แต่ Blog
จะมีการดีไซน์ในรูปแบบเฉพาะเรียกว่า
Blog Template ซึ่งมีให้เลือกมากมาย แต่ยังคงมีลักษณะโครงสร้างที่ค่อนข้างตายตัว
ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้มากตามใจชอบอย่างเว็บไซด์
- การสร้างเว็บไซด์ จำเป็นต้องมีทักษะความรู้ด้านคอมพิวเตอร์มากพอสมควร
ทั้งในส่วนของภาษาคอมพิวเตอร์,
โปรแกรมคอมติวเตอร์ต่างๆ ความรู้เบื้องต้นในเรื่องของ
Network เป็นต้น แต่ Blog เพียงรู้หลักในการใช้เล็กน้อยเท่านั้น
ก็สามารถสร้างเว็บไซด์ได้อย่างง่ายดาย
Blog กับ เว็บไซด์สำเร็จรูป ต่างกันอย่างไร?
- Blog และ เว็บไซด์สำเร็จรูป (Instant Website) เป็นเว็บไซด์ที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกัน ที่เรียกว่า เว็บไซด์ในรูปแบบ
CMS (Content Management System) คือจะเน้นในการจัดการเนื้อหาและบทความ เป็นหลัก ซึ่งเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการเขียนโปรแกรมเลย
ก็สามารถ สร้างBlog ขึ้นได้โดยวิธีการเข้าใจได้ไม่ยาก
- เว็บไซด์สำเร็จรูป มีทั้งแบบ เราสร้างเว็บเอง หรือ
ไปขอใช้บริการแบบที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว ซึ่งในที่นี้ผมจะขอกล่าวถึงแต่ เว็บไซด์สำเร็จที่เค้าสร้างให้เสร็จแล้ว
เพราะจะใกล้เคียงกับบริการของ Blog
- เว็บไซด์สำเร็จรูป ที่นิยม จะเป็นในรูปแบบเปิดร้านค้าออนไลน์
(Online Shopping, Instant
Online Store) ซึ่งจะมีระบบที่สนับสนุนกับการทำ
E-Commerce รองรับในตัว เช่น ตะกร้าสินค้า, เว็บบอร์ด
ในขณะที่ Blog จะไม่มี
- ดังนั้นในการเปิดร้านค้าออนไลน์นั้น เว็บไซด์สำเร็จรูปจะเหมาะสำหรับ
ร้านที่มีสินค้าขายเป็น ชิ้นๆ ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรในระดับหนึ่ง ... ในขณะที่ Blog จะเหมาะสำหรับร้านที่มีสินค้าตั้งขายจำนวนน้อย
- Blog จะเหมาะสำหรับธุรกิจที่เน้นให้บริการเป็นหลัก หรือธุรกิจแบบมีร้านค้าจริงๆ
เพื่อแนะนำร้านสถานที่ตั้งร้าน นำเสนอและโปรโมทสินค้าบริการต่างๆ เป็นต้น ในขณะที่เว็บไซด์สำเร็จรูปแบบร้านค้าออนไลน์นั้นจะเหมาะสำหรับธุรกิจที่ขายสินค้าเป็นผลิตภัณฑ์
(Products) ต่างๆมากกว่า Blog
ข้อดีและข้อเสียของ Blog :
ข้อดี
- มีอิสระที่จะนำเสนอสิ่งต่างๆ (ที่ไม่ไปก้าวล่วงบุคคลอื่น
และไม่ผิดกฎกติกาของผู้ให้บริการ Blog)
- เปิดโอกาสให้เจ้าของ Blog ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้เข้าชมและโต้ตอบกลับได้อย่างอิสระ
- ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในด้านภาษาโปรแกรมต่างๆ
- หากพอมีความรู้ด้านภาษาเว็บพื้นฐาน (HTML) จะสามารถช่วยทำให้เข้าไปแก้ไข Source Code ได้
เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบ Template ของ Blog ตามต้องการ
- สามารถใช้ Blog
ในการทำธุรกิจหารายได้ จากการโปรโมทสินค้าหรือบริการ
- สามารถใช้สร้างเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ได้
- ใช้งานได้ฟรี!! ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ยกเว้นต้องการจด
Domain Name เป็น .com
.net .org .info)
- มี Template
ให้เลือกใช้มากมาย (ทั้งแบบฟรีและเสียเงิน)
- Server มีความเสถียรสูง ปัญหาในด้านความช้า หรือ Server ล่ม พบน้อยมาก
ข้อเสีย
- ฟังก์ชั่นและลูกเล่นต่างๆ ยังมีน้อยหากเทียบกับเว็บไซด์ที่สร้างเองหรือเว็บไซด์สำเร็จรูป
- แม้มีรูปแบบ Template ให้เลือกใช้มากมายแต่โครงสร้างเว็บก็ยังคงค่อนข้างตายตัว
- เนื่องจากเป็นบริการให้ใช้ฟรี หากเราทำผิดกฎของผู้ให้บริการ
Blog เราจะถูกแบน และมีโอกาส
ถูกลบ Blog ได้ (แต่ถ้าไม่ได้ทำผิดกฎอะไร ก็อยู่ได้อย่างยาวนานจนกว่าผู้บริการจะเลิกให้บริการ)
บทสรุปส่งท้าย :
การเลือก ทำBlog ถือเป็นวิธีการหนึ่งที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่ายอีกวิธีหนึ่ง ในการนำเสนอ
หรือ โปรโมท สินค้าและบริการต่างๆ ซึ่งปัจจุบัน
วงการ Blog นั้นได้พัฒนาขึ้นมาก ทั้งลูกเล่นและฟังกชั่น การออกแบบดีไซน์
มีรูปแบบ Template สวยๆให้เลือกใช้มากมาย ครอบคลุมในสิ่งจำเป็นหลักๆได้ทั้งหมด
และหากท่านมีความรู้ในเรื่องของ ภาษา HTML
และ CSS ด้วยแล้วนั้น การสร้างBlog
ในระดับคุณภาพดีดี สัก Blog ขึ้นมา อาจจะเทียบได้กับการสร้างเว็บไซด์แบบปกติ หรือเว็บไซด์สำเร็จรูปดีดี
สักเว็บได้เลยทีเดียว (หรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำไป)และอีกสิ่งหนึ่งที่หลายๆท่านอาจจะคาดไม่ถึง
คือ เรื่องของ การทำ SEO ให้เว็บไซด์ติดอันดับต้นๆของ Google
ในการค้นหา ... สำหรับ Blogger (หรือ Blogspot.com)
ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งของ Google เอง มันจะแรงและเร็วมากในการทำอันดับ หากท่านรู้วิธีการ เทคนิค
และ หลักในการทำอย่างถูกต้องเหมาะสม
ขั้นตอนการสร้างบล็อก
1. ให้ทําการสมัครบัญชีของ Gmail ของ google แต่ถ้าใครมีบัญชี Gmail อยูแล้วก ่ ็ทําการล็อกอินเพื่อสร้าง
บล็อก ของ http://www.blogger.com/ ได้เลย ซึ่งโดยปกติแล้ว เมื่อเราเข้าไปที่เว็บ www.blogger.com หน้า
เพจแรกจะถามบัญชีถึงบัญชีGmail ของผู้ที่จะทําการสร้างบล็อกสําหรับนักศึกษาที่มีบัญชี Gmail อยู่แล้ว ก็
กรอกชื่อบัญชี Gmail และ รหัสผานของตน ดังภาพ
หากใครยังไม่มีบัญชีให้คลิกที่เมนู Sign up
เพื่อทําการสมัครบัญชี Gmail ใหม่
2. เมื่อเราเข้าไปที่www.blogger.com
ที่ได้ทําการล็อกอินบัญชีของ Gmail แล้ว หน้าแรกของ
blogger
จะมีหน้าตาดังภาพ ใคลิกไปที่เมนู“บล็อกใหม่” เพื่อทําการสร้างบล็อก
1. 3. เมื่อเราคลิกไปที่เมนูเพื่อสร้างบล็อกใหม่แล้ว
ให้ทําการกรอกรายละเอียดดังนี้ คือ ตรงหัวข้อ ให้พิมพ์ชื่อ บล็อก ตรงที่อยู่ให้ตั้งชื่อ
URL
ซึ่งควรใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษและตัวเลข และต้องดูตรงสถานะของบล็อก ด้วยวาชื่อ
URL ที่ตั้งไปนั้นมีผู้ใช้แล้วหรือยังไม่มีผู้ใช้
มันจะแจ้งว่า “ที่อยู่บล็อกนี้สามารถใช้ได้” เสร็จแล้ว ให้ทําการเลือกรูปแบบ
จากแม่แบบวาจะให้บล็อกมีหน้าตาในการแสดงผลเช่นไร เมื่อเลือกแล้วก็ คลิกเมนู
“สร้างบล็อก”
4. เมื่อทําการสร้างบล็อกแล้ว
เราจะกลับมาที่หน้าจัดการบล็อกเพื่อทําการตกแต่งบล็อกให้ดูสวยงามโดยการ
ใส่รูปภาพหรือ โค๊ดต่างๆ ให้นักศึกษาทําการคลิกลูกศรสีดํา
เพื่อเลือกเมนูรูปแบบ ดังภาพ
5. เมื่อคลิกเมนูรูปแบบ แล้วจะมีหน้าตาดังภาพให้คลิกที่
เมนูเครื่องมือออกแบบเทมเพลต เพื่อปรับแต่งหน้า
เทมเพลตตามที่เราต้องการ
เมื่อคลิกแล้วทําการเลือกรูปเทมเพลต
ตามต้องการ เมื่อเลือกแล้วให้คลิกที่ เมนู“ใช้กับบล็อก” เพื่อบันทึก
รูปแบบเทมเพลต
6. เมื่อทําการเลือกรูปแบบของเทมเพลตแล้วให้กลับมาที่“รูปแบบ”อีกครั้ง
เพื่อทําการใส่หัวบล็อกและ
ตกแต่งบล็อกโดยคลิกเลือกเมนูแก้ไข
ตรงส่วนของ ชื่อบล็อก
เมื่อคลิกเมนูแก้ไข แล้วให้คลิกที่
เมนู“เลือกไฟล์” เพื่อเลือกไฟล์ภาพที่จะนํามาเป็นหัวบล็อกเมื่อเลือกภาพ
ได้แล้วกดopenจากนั้นระบบจะทําการอัพโหลดภาพดังกล่าวเข้าไป เมื่อระบบอัพโหลดภาพเสร็จแล้ว
ให้
คลิกเลือก เมนู“แทนที่ชื่อและคําอธิบาย”
เสร็จแล้วกดเมนู“บันทึก” เพื่อทําการบันทึกภาพดังกล่าวซึ่งจะเข้า
ไปอยู่ในตําแหน่งหัวบล็อกดังภาพ
7. เมื่อทําการใส่หัวบล็อกเสร็จแล้ว
ให้คลิกที่เมนู“เพิ่ม Gadget”
เพื่อใส่โค๊ด ปฏิทิน นาฬิกา
สถิติผู้เยี่ยมชม แล้วแต่ความต้องการของเรา แล้วคลิกเมนู“บันทึกการจัดเรียง”
8. เมื่อทําการใส่โค๊ดตกแต่งตามต้องการแล้ว
ให้เลือกเมนู“หน้าเว็บ” เพื่อทําการสร้างหน้าเว็บเพจต่างๆ ตาม
ต้องการคลิกที่เมนู “แสดงหน้าเว็บเป็น”
เลือกลูกศรสีดําแล้วคลิกเลือกรูปแบบ “แท็บด้านบนสุด”
แล้วกด“บันทึกการจัดเรียง”
ดังภาพ
เมื่อทําการเลือกตําแหน่งของแท๊บเมนูแล้ว
ให้คลิกเมนู หน้าเว็บใหม่และเลือกลูกศรสีดําเลือกเมนู “หน้าเว็บ
เปล่า” เพื่อสร้างหน้าเพจต่างๆ
9. เมื่อคลิกเมนูสร้างหน้าเว็บแล้ว
ให้ตั้งชื่อเว็บเพจ ตรงช่อง และพิมพ์รายละเอียดลงไป แล้วคลิกที่เมนู“บันทึก”
10. เมื่อทําการสร้างเมนูเว็บเพจ
แล้วท่านสามารถที่จะทําลิงค์ไปเว็บไซต์หรือบล็อกต่างๆ โดยคลิกที่เมนูเพิ่ม
“Gadget”
แล้วเลือกฟังก์ชัน “รายชื่อลิงค์” แล้วคลิกเครื่องหมาย + เพื่อสร้างลิงค์
ดังภาพ
เมื่อคลิกที่ฟังชันก์
รายชื่อลิงค์แล้ว ให้ทําการ พิมพ์ชื่อเมนูว่า “ Link
Exchange” และ copy ลิงค์ ที่ต้องการ เชื่อมโยงของเพื่อนมาใส่ไว้ในช่อง
URL ของไซต์ใหม่และ ตรงชื่อเว็บไซต์ให้ พิมพ์ชื่อ ของเว็บบั้
นๆ ที่ ต้องการทําลิงค์ เมื่อทําเสร็จ ให้คลิกที่ เมนู “เพิ่ มลิงค์”
เพื่อทําการเพิ่ มลิงค์เว็บไซต์อื่นๆต่อไปแล้วคลิกที่เมนู “บันทึก”
ดังภาพ
เมื่อเราทําการสร้างลิงค์เสร็จ
เมื่อกดบันทึกจะมีหน้าตาดังภาพ ซึ่งในกรณีที่เราต้องการเพิ่มลิงค์ต่อให้คลิกที่เครื่องมือ
“แกไข้ ” ดังภาพ
เราสามารถทําการเคลื่อนย้ายตําแหน่ง
โดยการคลิกลากมาไว้ในตําแหน่งที่เราต้องการได้
เราสามารถปรับเปลี่ยนความกว้างในการแสดงผลหน้าจอได้
โดยคลิกไปที่เครื่องมือเครื่องมือออกแบบเทมเพลต แล้วเลือก“ปรับความกว้าง” ดังภาพ
11. ในการสร้างบทความ ให้คลิกไปที่เมนู“บทความใหม่”
ดังภาพ
12. เมื่อคลิกเมนูสร้างบทความใหม่แล้ว
ให้นักศึกษา ทําการแทรกภาพ โดยการคลิกที่ไอคอน แทรกรูปภาพ
คลิกที่เมนูเลือกไฟล์และทําการเลือกรูปภาพ
แล้ว กดopenดังรูป
ระบบจะทําการอัพโหลดไฟล์รูปดังกล่าว
เมื่ออัพโหลดเสร็จแล้ว ให้คลิกที่“เพิ่มรายการที่เลือก”
เมื่อทําการเลือกภาพแล้ว ภาพดังกล่าวจะเข้ามาอยู่ในแบบร่างบทความ
ดังรูป เสร็จแล้วพิมพ์รายละเอียดลง
ไปแล้วคลิก เมนู เพื่อทําการ“บันทึก”
บทความความ และเผยแพร่ บทความ
เมื่อกดบันทึกแล้ว จะเข้ามาสู่หน้าจอรายการที่แสดงถึงบทความที่เราสร้างขึ้นเมื่อครู่
ถ้าหากเราต้องการสร้างบทความเพิ่ม ให้คลิกที่ เมนูสร้าง บทความใหม่
ถ้าในบทความของเรา ต้องการเผยแพร่ผลงานวีดิโอจาก
Youtube
ให้เราคลิกที่ไอคอน แทรกวีดิโอ
ทําการเลือกวีดิโอจาก Youtube
ซึ่งถ้าในกรณีที่เรามีคลิปในบัญชียูทูบของเราอยู่แล้ว ให้คลิกเลือกเมนูวีดิโอYoutube
ของฉัน แต่ถ้าเราจะเอา คลิป Youtube จากแหล่งบัญชีอื่น
ให้คลิกเมนูจาก Youtube แล้วเสริ์ชหาเอานะคะ
เมื่อทําการแทรกวีดิโอจาก
Youtube
แล้ว วีดิโอ ดังกล่าวจะเข้ามาอยู่ในแบบร่างบทความ ดังรูป
เสร็จแล้วทําการ กดบันทึก และ คลิกไปที่ เมนู แสดงตัวอย่าง
ก็จะได้ผลลัพธ์ดังภาพ
วิดีโอที่เกี่ยวข้อง
ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
โครงงานการบำบัดความเครียดด้วยเสียงเพลง Music Therapy
Work com602 28&41 from จารวี จี๋จันทร์
-
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผ...
-
การบำบัดความเครียดด้วยเสียงเพลง Music Therapy ความเครียดเกิดในวัย ? ในปัจจุบันผู้คนทุกรุ่นทุกวัยมักเกิดปัญหาเกี่ยวกับการงาน ก...
-
Jaraweejj from จารวี จี๋จันทร์